การใช้งาน Water Cooling System นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการใช้งานมานานแล้ว ไม่ว่ากับเครื่องจักร ที่เห็นได้ชัดคือพวกรถยนตร์ที่จำเป็นต้องมีระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ เพราะไม่อย่างนั้นแล้วอาจทำให้เครื่องร้อนเกินไป โดยเฉพาะระบบดีเซล เพราะการอันอากาศและน้ำมันจนระเบิดนั้นจะมีความร้อนส่วนหนึ่งไหลมาที่ตัวเครื่อง หากไม่ระบายออกแล้วจะเกิดอาการเครื่อง overheat ได้ โดยปกติระบบระบายความร้อน คือการเอาความร้อนจากที่หนึ่งไหลมาระบายทิ้งอีกที่หนึ่งนั้นเอง หากถามว่าทำๆไม อาจเพราะในที่แรกนั้นมีสภาพไม่เหมาะแก่การสร้างระบบระบายความร้อนใหญ่ หรือมีส่วนประกอบที่ละเอียดอ่อนไม่เหมาะแก่การสร้างระบบระบายความร้อน หรือเข้าถึงได้ยากลำบากทำให้เข้าไปบำรุงรักษาได้ยาก
ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำนั้น เพิ่งจะเริ่มนิยมในสมัยของ Pentium II ก่อนหน้านั้นอาจมีบ้างแต่ไม่ค่อยนิยมเท่าไหร่ เพราะว่า CPU นั้นยังไม่ร้อนมาก แค่เพิ่มขนาดของ Heatsink ก็สามารถแก้ปัญหาได้แล้ว สามารถทำการ Overclock ต่อได้ โดยทั่วๆไปแล้วระบบระบายความร้อนด้วยอากาศที่ผู้ออกแบบ CPU มักจะออกแบบมาให้เพียงพอต่อการใช้งานปกติอยู่แล้ว แต่หากต้องการ Overclock แน่นอนว่าความร้อนจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีความร้อนส่วนเกินสะสม จึงต้องเพิ่มขนาดของ Heatsink หรือไม่ก็เพิ่มความเร็วและความแรงของลม แต่คนมักไม่เลือกเพราะเสียงดัง ส่วนใหญ่เรามักอยู่ใกล้คอมที่เราใช้งาน การมีเสียงหึ่งๆ คงไม่ดีแน่ ส่วนการเพิ่มขนาดก็ทำได้จำกัด เพราะ mainboard นั้นมันไม่ได้มี CPU อย่างเดียวมีทั้ง RAM ,Chipset อีกเป็นตัวกำหนดขนาดของ Heatsink และการใช้ Heatsink ที่หนักมากหากวางเป็นแนวตั้งแล้วอาจมีน้ำหนักกดทับตัว CPU มากเกินไป ยิ่งเป็นทองยิ่งหนัก เพราะโดยปกติแล้วทองแดงแม้จะระบายความร้อนได้ดีกว่าอลูมิเนียมแต่ว่าแพงกว่าและหนักกว่าด้วย ดังนั้นอีกทางเลือกคือ Water Cooling System ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถหาซื้อชุดสำเร็จรูปได้โดยง่าย เดี๋ยวเรามาดูส่วนประกอบกันดีกว่า
ส่วนประกอบโดยทั่วๆไป มักจะประกอบด้วย Water Block ,Pump ,Radian ,Water Tank ,Water Cable สายยางนั้นเอง
Water Block คือส่วนที่ใช้ติดตั้งกับ CPU ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง CPU กับ น้ำ เพราะว่าไม่สามารถให้ CPU สัมผัสกับน้ำโดยตรงได้
Pump หรือปั๊มน้ำ ทำหน้าที่สูบน้ำให้ไหลเวียนในระบบ เป็นตัวขับเครื่องระบบทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆว่าจะต้องทำงาน ระหว่างที่ใช้งานเครื่อง ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ระบบล่มได้ หากเปรียบกับคนแล้วปั๊มน้ำก็เปรียบเหมือนหัวใจนั้นเองที่คอยสูบเฉียดเลือด(น้ำ)ให้ระบบสามารถทำงานได้
Radian ที่ระบายความร้อน มักจะสร้างคล้ายกับรวงผึ้ง ซึ่งหากดูดีๆแล้วมันก็เหมือนกับหม้อน้ำรถยนตร์เลย เพียงแต่ว่าสวยงามกว่าหน่อย มีพัดลมคอยระบายความจากมันอีกทีหนึ่ง หน้าที่มันคือ การดูดเอาความร้อนส่วนเกินออกมาจากน้ำ ให้ไปกับอากาศนั้นเอง การมี Radian ยิ่งใหญ่ยิ่งดี ทำให้น้ำนั้นยิ่งเย็นลงได้ง่าย แต่ว่าก็ยิ่งแพงเป็นเงาตามตัว
Water Tank คือที่เก็บน้ำนั้นเองเป็นตัวกลางคอยรักษาระดับน้ำ บางระบบอาจไม่มีอุปกรณ์ตัวนี้ แต่ถ้ามีจะดีกว่าเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยไปจากระบบได้ หรือหากมีน้ำซึมก็ระบบก็ยังสามารถทำงานต่อได้ โดยทั่วไประบบ Water Cooling System มักเป็นระบบปิด น้ำมักไม่ระเหยไปไหน จึงอาจไม่เห็น Water Tank หรือในบางครั้งอาจเอาปั๊มน้ำมาใส่ใน Water Tank หรืออาจรวมเอา Radian เข้าไปด้วย ทำให้ระบบมีเพียงสองชิ้น คือเหลือ Water Block กับ Water Tank ที่รวมเอา Pump,Radian เข้ามาในตัวนั้นเอง
รูป Radian ขนาดใหญ่ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีพัดลม รวมเอา pump และ water tank เข้ามาในตัวแล้ว แต่ราคาแพงมาก แต่สวยเกินห้ามใจ
No comments:
Post a Comment